วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เรียนวันที่11ธันวาคม2552
เพื่อนๆได้นำรายงานมาเพิ่มเติมในห้องเรียนเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
อาจารย์สั่งงานให้หาเรื่องมิติของภาษา ว่ามีใครกล่าวไว้บ้างและกล่าวไว้ว่าอย่างไร

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เรียนวันที่4ธันวาคม2552
กลุ่มที่1
ได้นำเสนอ ความหมายและความสำคัญของภาษาซึ่งภาษาคือสิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร
ความหมายของภาษา
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)
1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด
2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ
4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใด
ความสำคัญของภาษา
ภาษา เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อความหมาย ทั้งในแบบที่เป็น วัจนะ และ อวัจนะ หายปราศจากภาษาแล้ว เราจะไม่สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งก็จะไม่ทำให้เกิดสังคม และ วัฒนธรรม และ อารยธรรมของมนุษย์ ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547 : 152-153) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาว่า ภาษาเป็นการใช้ศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการใช้ภาษาด้วยวาจา สัญลักษณ์มากกว่าการพูดและเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบบที่เด็กแสดงออกมากที่สุดคือ ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี การพูดและตามด้วยการเขียน การสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
กลุ่มที่2
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
เพียเจต์ การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการทำงานของระบบประสาท เกิดการปฏิบัติ คือการรับรู้สิ่งต่างๆเข้าสมอง มีการกระทำต่างๆส่งไปสมอง และทำไปเรื่อยๆนเกิดความรู้ใหม่
บรูเนอร์ การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการเรียนรู้ของอินทรีย์ มีกระบวนการทำงานของสมองเรื่องสติปัญญา และเกิดการกระทำขึ้น การที่จะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้ นั้น เด็กต้องได้ลงมือกระทำ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญการคิดแบ่งเป็น3ขั้น
1.ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
3.ขั้นการเรียนรู้เรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
กลุ่มที่3
1.ธรรมชาติของการเรียนรู้ 1.1.มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล 1.2.บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 1.3.บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
2.การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
3.การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนรู้เป็นสิ่งมีความหมายต่อผู้เรียน
4.การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
กลุ่มที่4
หลักการสอนภาษาแบบองค์รวมหมายถึงการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นประสบการณ์
1.หลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม 1.1ผู้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจ 1.2ในระหว่างการอ่าน ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน 1.3ด้านการเขียนแนวการสอนภาษาแบบองค์รวม 1.4การเขียนต้องคำนึงถึงระบบของภาษาซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์และเสียง 1.5จุดมุ่งหมายหลักของการอ่านคือความหมายและความเข้าใจในบทความที่อ่าน

ภาพกิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลสาธิตจันทรเกษม



นิทานอะไรเอ่ย...เรื่องเจ้ากระปุ๊ก

การจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย