วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ปัจจุบันการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสถานเลี้ยงเด็กที่ได้มาตรฐาน มีพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ เข้าใจ ความต้องการ พัฒนาการเด็กจะส่งผลให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น ความมั่งคงทางจิตใจ เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข หนังสือสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี มีความสุข มองโลกในแง่ดีและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย การที่ครูอ่านคำกลอนให้เด็กฟังแล้วให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์จากคำกลอนโดยครูมีคำถามมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้วยนั้น เป็นการส่งเสริมการแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนี้กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กได้ เด็กในวัยนี้ชอบวาดภาพเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้จะยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ แต่เขาสามารถวาดภาพบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของเขาให้เรารับรู้ได้อย่างละเอียด โดยผ่านวิธีการวาดภาพ เพราะในการวาดภาพของเด็กนั้นมักสะท้อนถึงเรื่องราวที่เขาสนใจ จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไป ครูมักจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครูยังเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองพฤติกรรมที่ครูเป็นผู้ริเริ่ม การนำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาใช้กับเด็ก ครูยังคิดเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลาและตัวครูยังขาดทักษะบางประการที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กโดยผ่านละครสร้างสรรค์อีกด้วย ในทำนองเดียวกันการนำกิจกรรมการวาดภาพมาใช้กับเด็กปฐมวัย ครูส่วนมากจะเน้นที่การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา ในลักษณะประสาทสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามเป็นหลักและมองข้ามการใช้การวาดภาพเสริมกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ
เรียนวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กนอกจากทักษะการอ่านและเขียนแล้วยังรวมถึงการฟังการพูดครูสามารถประเมินการสอนแบบง่ายๆโดยสังเกตว่าเวลาสอนเด็กรู้สึกอย่างไรและสามารถปรับเปลี่ยนแนวการสอนใหม่ให้ดีขึ้นได้ แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา คือ ครูต้องทราบว่าเรียนรู้อย่างไรถึงจะเป็นธรรมชาติ เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าสอนแบบWhole Language เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง ให้เด็กรู้ตัวว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียนนั้นๆ ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตอนนี้ตัวเองกำลังถูกแช่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน ทำให้การเรียนของเด็กสนุกสนาน การสอนภาษาของเด็ก เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้ การประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ ให้เด็กอ่านสิ่งที่คุ้นเคย อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ พัฒนาทางด้านจิตพิสัยให้เด็กมีความรักในภาษา กิจกรรมส่งเสริมการพูด เช่นเล่านิทาน เรียกชื่อตามนิทาน กิจกรรมส่งเสริมการฟัง เช่นฟังประกอบหุ่น ฟังและแยกเสียง ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด สอนโดยไม่มีการแยกเด็ดเก่งเด็กอ่อน เด็กเกิดมาพร้อมกับความอยากรู้อยู่แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานกลุ่มเรื่องความหมายความสำคัญของภาษาและการจัดประสบการณ์ของภาษา

เรียนวันที่11พฤษจิกายน 2552
ความหมายของภาษา
คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร
ความสำคัญของภาษา
· ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของ
· ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน
· ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย
· ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม
ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา
www. KHAMKHUNHOME.com
การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy)
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ
2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความ
2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา ดังนี้
1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย
(1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening)
(3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening)
(4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening)
(5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening)
2. สาระที่ควรเรียนรู้ โดยปกติเป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์สำคัญ
2.1 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม เรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (Jalongo, 1992: 67) ได้แก่
(1) ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ
(2) ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี
(3) ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง
การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการในการเรียนภาษาของเด็ก (หรรษา นิลวิเชียร, 2535: 211-212)
ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดี
การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา
การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย แนวทางการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง (Tompkins, 1997: 440) มีดังต่อไปนี้ 1. ใช้เครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสม) 3. บูรณาการการสอนกับการประเมิน
4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก 5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต
6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริง
7. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรอง
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง

อรวรรณ วงค์คำชู, 2542) โดยมีแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กดังต่อไปนี้ 1. ครูควรให้ความสำคัญกับภาษาที่หนึ่งของเด็ก
2. การใช้ภาษาในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กกับครูในระยะแรก 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก
4. ประสานความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน ใช้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาทั้งภาษาไทยถิ่น และภาษาไทยกลางเป็นสื่อในการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงในชีวิตจริง ในกรณีที่ครูไม่สามารถพูดภาษาถิ่นที่เด็กพูดได้ มีแนวทางในการปฏิบัติตนของครู (Hendrick, 1996: 462-463) ดังนี้
1. ครูต้องพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ
2. รอคอย ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็กลองพูดภาษาที่สอง
3. จับคู่เด็กที่พูดภาษาถิ่นเหมือนกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจว่ามีคนที่เหมือนตนเอง
4. เมื่อพูดกับเด็กให้ใช้ระดับเสียงตามธรรมชาติ ไม่ควรเน้นเสียง หรือออกเสียงดังเกินไป
5. หากเด็กใช้ชื่อที่เป็นภาษาถิ่น ให้ครูหัดออกเสียงเรียกชื่อของเด็กโดยใช้ภาษาถิ่นนั้น
6. ครูอาจพยายามใช้คำบางคำที่เป็นภาษาที่เด็กใช้เพื่อสื่อสารกับเด็ก
7. ใช้ภาษาท่าทาง ยิ้ม มองเด็กด้วยท่าทีที่ให้กำลังใจ เพื่อช่วยให้เด็กรับรู้ถึงความเป็นมิตรของครู
8. เมื่อพูดแล้วเด็กไม่เข้าใจ ครูอาจหยิบวัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เด็กดูเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจได้
9. เชื่อมโยงภาษากับวัตถุ หรือประสบการณ์จริง
10. การสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์ใหม่ควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และใช้ซ้ำๆ
11. ใช้เพลงหรือคำคล้องจองง่ายๆ ที่เด็กสามารถท่องคลอไปพร้อมกลุ่ม
12. ไม่ควรให้ความสนใจต่อการใช้ภาษาของเด็กมากเกินไป เพราะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน
13. หากมีเด็กที่ใช้ภาษาถิ่นจำนวนน้อย ควรทำความเข้าใจกับเด็กอื่นๆ เพื่อให้เด็กไม่ถูกล้อเลียน
14. ครูต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของตนเองที่ไม่สามารถพูดภาษาถิ่นได้

แหล่งข้อมูล คุณครูแมว ดร.นฤมล เนียมหอม

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แบบบันทึกการเรียนครั้งที่1

นางสาวชไมรัตน์ โกสิงห์รหัสนักศึกษา5111205026
เรียนวันที่6 พฤษจิกายน 2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถ ทางภาษาของเด็กปฐมวัย ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ ในด้านการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
ภาพบรรยากาศของแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีอากาศที่อบอุ่นระหว่างคุณครูและตัวเด็กเช่น น้ำเสียงในการพูด กิริยาท่าทาง สายตา และความดูแลเอาใจใส่ มีแสงสว่างในแหล่งการเรียนรูที่เพียงพอ มีอุปกรณ์ที่เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่เพียงพอ
สรุปใจความสำคัญ
การจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้น คือต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของเด็กทุกคนให้มีศักยภาพและมีคุณค่าที่สูงสุดสำหรับตัวเด็กเองไม่ว่าจะผ่านทางกิจกรรม หรือประสาทสัมผัสทั้ง5 ซึ่งสิ่งที่จัดขึ้นนั้นจะก่อให้เกิดพัฒนาการแก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยจะพัฒนาให้เด็กมีความสามารถในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน
แสดงความคิดเห็น
จากการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยนั้น ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์ของเนื้อหาที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพว่า จะต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้เด็กปฐมวัยอย่างไร เด็กถึงจะมีศักยภาพที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการที่ดี และสามารถพัฒนาความสามารถในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน

ภาพกิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลสาธิตจันทรเกษม



นิทานอะไรเอ่ย...เรื่องเจ้ากระปุ๊ก

การจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย