วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานกลุ่มเรื่องความหมายความสำคัญของภาษาและการจัดประสบการณ์ของภาษา

เรียนวันที่11พฤษจิกายน 2552
ความหมายของภาษา
คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร
ความสำคัญของภาษา
· ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของ
· ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน
· ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย
· ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม
ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา
www. KHAMKHUNHOME.com
การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy)
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ
2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความ
2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา ดังนี้
1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย
(1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening)
(3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening)
(4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening)
(5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening)
2. สาระที่ควรเรียนรู้ โดยปกติเป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์สำคัญ
2.1 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม เรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (Jalongo, 1992: 67) ได้แก่
(1) ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ
(2) ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี
(3) ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง
การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการในการเรียนภาษาของเด็ก (หรรษา นิลวิเชียร, 2535: 211-212)
ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดี
การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา
การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย แนวทางการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง (Tompkins, 1997: 440) มีดังต่อไปนี้ 1. ใช้เครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสม) 3. บูรณาการการสอนกับการประเมิน
4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก 5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต
6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริง
7. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรอง
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง

อรวรรณ วงค์คำชู, 2542) โดยมีแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กดังต่อไปนี้ 1. ครูควรให้ความสำคัญกับภาษาที่หนึ่งของเด็ก
2. การใช้ภาษาในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กกับครูในระยะแรก 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก
4. ประสานความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน ใช้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาทั้งภาษาไทยถิ่น และภาษาไทยกลางเป็นสื่อในการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงในชีวิตจริง ในกรณีที่ครูไม่สามารถพูดภาษาถิ่นที่เด็กพูดได้ มีแนวทางในการปฏิบัติตนของครู (Hendrick, 1996: 462-463) ดังนี้
1. ครูต้องพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ
2. รอคอย ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็กลองพูดภาษาที่สอง
3. จับคู่เด็กที่พูดภาษาถิ่นเหมือนกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจว่ามีคนที่เหมือนตนเอง
4. เมื่อพูดกับเด็กให้ใช้ระดับเสียงตามธรรมชาติ ไม่ควรเน้นเสียง หรือออกเสียงดังเกินไป
5. หากเด็กใช้ชื่อที่เป็นภาษาถิ่น ให้ครูหัดออกเสียงเรียกชื่อของเด็กโดยใช้ภาษาถิ่นนั้น
6. ครูอาจพยายามใช้คำบางคำที่เป็นภาษาที่เด็กใช้เพื่อสื่อสารกับเด็ก
7. ใช้ภาษาท่าทาง ยิ้ม มองเด็กด้วยท่าทีที่ให้กำลังใจ เพื่อช่วยให้เด็กรับรู้ถึงความเป็นมิตรของครู
8. เมื่อพูดแล้วเด็กไม่เข้าใจ ครูอาจหยิบวัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เด็กดูเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจได้
9. เชื่อมโยงภาษากับวัตถุ หรือประสบการณ์จริง
10. การสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์ใหม่ควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และใช้ซ้ำๆ
11. ใช้เพลงหรือคำคล้องจองง่ายๆ ที่เด็กสามารถท่องคลอไปพร้อมกลุ่ม
12. ไม่ควรให้ความสนใจต่อการใช้ภาษาของเด็กมากเกินไป เพราะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน
13. หากมีเด็กที่ใช้ภาษาถิ่นจำนวนน้อย ควรทำความเข้าใจกับเด็กอื่นๆ เพื่อให้เด็กไม่ถูกล้อเลียน
14. ครูต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของตนเองที่ไม่สามารถพูดภาษาถิ่นได้

แหล่งข้อมูล คุณครูแมว ดร.นฤมล เนียมหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพกิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลสาธิตจันทรเกษม



นิทานอะไรเอ่ย...เรื่องเจ้ากระปุ๊ก

การจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย